ทุกๆ สถานที่ล้วนแล้วแต่มีกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อเป็นข้อปฏิบัติตามกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปในสถานที่ราชการ การเข้าตึกทำงานของเอกชนหรือแม้กระทั้ง “การรับประทานอาหารภายในภัตตาคาร” ก็มีข้อปฏิบัติกันอีกด้วยหล่ะครับ บทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบกันครับ

ขั้นตอนและข้อปฏิบัติในการกินอาหารภายในภัตตาคารที่ควรทำตาม

ไม่พูดคุยหรือทำเสียงดังขณะเคี้ยวอาหาร สำหรับคนไทยการพูดคุยขณะเคี้ยวอาหารในปากหรือเคี้ยวอาหารมีเสียงถือเป็นเรื่องไร้มารยาทและไม่สุภาพ การพูดคุยบนโต๊ะอาหารควรเกิดขึ้นหลังจากที่เคี้ยวอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว และควรเคี้ยวอาหารแบบเรียบร้อยไม่ให้เกิดเสียง

ควรแสดงความนอบน้อมด้วยการตักอาหารให้ผู้ใหญ่ ในสังคมไทยการให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโสกว่าถือเป็นเรื่องที่ดี มารยาทบนโต๊ะอาหารก็เช่นกันเมื่อต้องร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ การแสดงความน้ำใจโดยการตักอาหารหรือถามผู้ใหญ่ที่ร่วมโต๊ะด้วยว่า ต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่งและถือเป็นการกระทำที่น่ารักในสายตาผู้ใหญ่

ควรตักอาหารใส่จานแต่พอดี มารยาทบนโต๊ะอาหารอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือ ควรตักอาหารใส่จานแต่พอดี ปริมาณอาหารที่ตักไม่ควรเยอะจนเกินไปเพราะอาจถูกมองว่าตะกละตะกลาม และไม่มีน้ำใจหากตักอาหารในปริมาณที่เยอะจนไม่เหลือเผื่อแผ่ให้กับคนอื่น

อาหารประเภทน้ำไม่ควรรับประทานเสียงดัง เราอาจเคยได้ยินมาว่าในบางวัฒนธรรมการซดน้ำซุปเสียงดังเป็นการบ่งบอกถึงความอร่อย และบ่งบอกว่าอาหารจานนั้นมีรสชาติถูกปากเรา แต่สำหรับธรรมเนียมบนโต๊ะอาหารของคนไทยนั้นการกินอาหารเสียงดังถือว่าไม่สุภาพ การซดน้ำซุปความทำด้วยอาการสุภาพและไม่ส่งเสียงดังขณะกิน

ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะ ตามธรรมเนียมคนไทยการให้เกียรติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสกว่าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นหากต้องร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสกว่าจึงไม่ควรลงมือรับประทานอาหารก่อน แต่ควรรอจนผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะลงมือทานจึงจะถือว่าเป็นการให้เกียรติ

รู้จักกับพิธีการในระหว่างมื้ออาหาร

รอให้แขกคนสุดท้ายเริ่มรับประทาน แม้ว่าคุณจะได้รับการเสริฟอาหารเป็นคนแรก แต่คุณไม่ควรเริ่มรับประทานจนกว่าคนอื่นๆ จะมีได้อาหารแล้ว หรือเพื่อนร่วมโต๊ะเชิญให้คุณรับประทานได้ก่อน

เมื่อคุณรัปประทานอาหารแล้วสิ่งสำคัญคือควรรับประทานอาหารที่มีความเร็วใกล้เคียงกับคนอื่น ๆ ไม่ทานอาหารอย่างรีบร้อนหรือช้าเกินไป

ตักปริมาณอาหารแต่ละชิ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ นั่นคือ ตัดเพียงชิ้นที่คุณกำลังจะกิน เมื่อคุณจิ้มอาหารด้วยส้อมหรือตักอาหารด้วยช้อน ควรรับประทาน และไม่ปล่อยทิ้งไว้ในระหว่างพูดคุย

อย่ากินหรือดื่มถ้าปากของคุณเต็มไปด้วยอาหาร คุณควรเคี้ยวอาหารให้หมดแล้วค่อยดื่มน้ำ อย่าดืมน้ำนานเกินไป คุณควรจิบสั้น ๆ ทำให้ไม่รู้สึกว่าคุณกระหาย

คุณไม่ควรพูดคุยในขณะที่ปากของคุณเต็มไปด้วยอาหาร หรือทำเสียงใด ๆ เมื่อเคี้ยวอาหาร หรือดื่มน้ำ

ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดปากควรวางไว้บนตักจนกว่าจะมีการใช้งาน ถึงแม้จะมีการเช็ดปากทำความสะอาดปากคุณควรพยายามเช็ดคราบสกปรกให้น้อยที่สุด

หากคุณต้องการลุกจากโต๊ะสักครู่ให้วางผ้าเช็ดมือลงด้านซ้ายของโต๊ะ หรือบนเก้าอี้

กิริยาท่าทาง คุณควรวางหลังตรง แต่ไม่แข็ง อาหารควรถูกนำเข้าปาก ไม่ใช่ให้ปากของคุณเข้าหาอาหาร และข้อศอกของคุณไม่ควรวางบนโต๊ะ ควรวางเพียงแขนของคุณเท่านั้น

อย่ากางแขนของคุณข้ามหน้าแขกผู้อื่นเพื่อไปหาอาหาร สิ่งที่ดีที่สุดคือการขอร้องอย่างสุภาพและถ้าจำเป็นต้องส่งต่ออาหารไปยังแขกคนอื่น

การจับช้อนส้อม นิ้วของคุณควรสัมผัสด้ามมีดและเมื่อทานเสร็จแล้วควรวางบนจาน ในกรณีของส้อมควรปล่อยทิ้งไว้

อย่าลุกขึ้นก่อนถึงเวลา คุณไม่ควรลุกขึ้นจากโต๊ะจนกว่าทุกคนจะรับประทานเสร็จ ในกรณีฉุกเฉินให้กล่าวคำขอโทษ อย่าออกจากโต๊ะโดยไม่พูดอะไร

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “ข้อปฏบัติเมื่อไปกินอาหารที่ภัตตาคาร” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ