กันซึมดาดฟ้า

ระบบกันซึมดาดฟ้า ในบ้านเรามีสาเหตุมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีความชื้นในอากาศและในดินค่อนข้างสูง คอนกรีตที่ก่อสร้างไว้จะกักเก็บความร้อน และความชื้นของอากาศไว้ในตอนกลางวัน และถ่ายคืนสู่ธรรมชาติในเวลากลางคืนที่อากาศเริ่มเย็นลง ทำให้คอนกรีตขยายตัวและ หดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุของการแตกร้าวได้ ดังนั้น การก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย อันอาจเกิดขึ้นจากการรั่วซึม หรือจากความชื้นของอากาศ ที่ซึมผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้

ระบบป้องกันการรั่วซึม วัสดุป้องกันการรั่วซึมในงานเคลือบดาดฟ้าคอนกรีต ทนทานต่อสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง และสะท้อนแสงได้ สามารถทน ต่อแสง UV มีสีสันสวยงาม สามารถติดตั้งแผ่นใยเสริมความแข็งแรงของระบบกันซึมได้ หลังคาคอนกรีตใหม่-เก่า, หลังคากระเบื้อง, หลังคา Metal Sheet, ผนังด้านข้างอาคาร, พื้นดาดฟ้าคอนกรีตใหม่-เก่า, รางน้ำและโครงสร้างอื่น ๆ ที่เป็นคอนกรีตเป็นวัสดุทากันซึมประเภทโพลียูรีเทน มีความยืดหยุ่นสูงมาก เหมาะสำหรับหลังคาและดาดฟ้า มีคุณสมบัติกันซึมได้ดีเยี่ยม มีความยืดหยุ่นได้สูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีคุณสมบัติที่สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวทั้งใหม่และเก่าได้อย่างดี ช่วยป้องกันโครงสร้างของการก่อสร้างจากความชื้นของอากาศและสภาพที่เป็นพิษของอากาศ เช่น ฝนกรด, น้ำทะเลหรือสภาพอากาศที่เค็ม, น้ำมันต่าง ๆ, แบคทีเรียรวมถึงสารเคมีต่าง ๆ

ขั้นตอนการทำงานกันซึมดาดฟ้า ให้ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะลงงานให้สะอาด ปราศจากเศษสิ่งสกปรก และจะต้องเป็นพื้นผิวที่แห้งสนิท โดยไม่มีน้ำขัง

ขั้นที่ 1 ให้ทำการติดตั้ง วัสดุกันซึมชั้นแรกเพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นรองพื้น ด้วยการทาพื้นด้วยลูกกลิ้งหรือแปรงทาสีในอัตราส่วน Pu 50% : น้ำสะอาด 50% รอให้แห้งสนิทก่อนที่จะเริ่มงานต่อไป

ขั้นที่ 2 เพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นกันซึมด้านล่าง ในขณะที่ชั้นที่สองยังไม่แห้งสนิท ให้ทำการปูแผ่น POLYESTER เพื่อป้องกันการซึม โดยวิธีการปูจะต้องทับซ้อนกับด้านข้างไม่น้อยกว่า 10 ซ.ม. และด้านหัวท้ายของแผ่นไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. ต้องรีดให้เรียบและแนบติดกับพื้นที่จะทำระบบกันซึม แผ่น POLYESTER นี้จะทำหน้าที่เสริม เพื่อการกันซึมให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จากนั้นต้องทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้แห้งสนิท

ชั้นที่ 3 เพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นกันซึมด้านบน ต้องทิ้งไว้ให้แห้งสนิทอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงทำงานขั้นตอนต่อไป

ชั้นที่ 4 เพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นกันซึมในชั้นตอนสุดท้าย จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งสนิทอีกระยะหนึ่ง ก่อนใช้งานพื้นที่ดาดฟ้าได้ต่อไป